ขายดีแค่ไหนแต่ถ้าไม่มีระบบก็เจ๊งได้

5 เทคนิคการทำสต๊อกสินค้า

5 เทคนิคการทำสต๊อกสินค้า

5 เทคนิคการทำสต๊อกสินค้าสินค้า

5 เทคนิคการทำสต๊อกสินค้า วันนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคการทำสต๊อกสินค้าอย่างไรให้ประหยัด จากการใช้ระบบสต๊อกสินค้า เพื่อเป็นการลดต้นทุนการใช้แรงคนโดยเจ้าของธุรกิจจะต้องมีการวางแผนในการเช็คสต๊อกสินค้าเมื่อคุณมีระบบสต๊อกสินค้าเข้ามาใช้งานในธุรกิจ ก็จะทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ประหยัดเวลาในการนับสต๊อกสินค้า เพราะการเช็คสต๊อกสินค้าต้องละเอียดมากในการตรวจเช็คและนับ เมื่อคุณมีตัวช่วยที่เป็นระบบสต๊อกสินค้า คุณเพียงแค่เช็คในระบบจะบอกคุณทุกอย่าง โดยอาจจะมีการเรียนรู้การใช้งานในบางส่วนของระบบเพียงแค่นี้คุณก็จะมีการเช็คสต๊อกในคลังสินค้าได้ง่ายๆ

1. จัดสต็อกให้เป็นหมวดหมู่

เป็นหนึ่งในเทคนิคง่าย ๆ ในการจัดการสต็อกสินค้าของคุณ คุณสามารถจัดแบ่งสินค้าในคลังสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ที่แตกต่างตามประเภทข้อมูลที่อยากเก็บ เช่น สินค้าที่ขายง่ายมาไวไปไว สินค้าที่ทำกำไรได้สูง สินค้าขายดี เป็นต้น หลังจากจัดแบ่งและเก็บข้อมูลได้สักระยะแล้วคุณก็จะมีฐานข้อมูลเพียงพอที่จะเอามาวิเคราะห์เพื่อวางแผนธุรกิจต่อไปได้จากการวางแผนการเก็บสต๊อกสินค้าที่เป็นระบบมากขึ้น ทำให้การทำงานได้รวดเร็วขึ้น

2. หมั่นนอัพเดทสต็อกสินค้าอยู่เสมอ มีการเช็คและนับสต็อกสินค้าประจำปี

มีการอัพเดทจำนวนสต็อกสินค้าในทันทีที่มีสินค้าเข้าหรือออก เพื่อให้แน่ใจว่ามีสินค้าเพียงพอที่จะขายและป้องกันความผิดพลาดในการสั่งออเดอร์สินค้ามาเติมในสต็อกสินค้า นอกจากนี้ก็ควรจัดให้มีการเช็คและนับสต็อกสินค้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับธุรกิจขนาดเล็กอาจทำปีละ 2 ครั้ง หรือ 4 ครั้ง ตามจำนวนไตรมาส การเช็คและนับสต็อกสินค้าอยู่เสมอช่วยให้คุณได้อัพเดทเห็นความเคลื่อนไหวของสินค้าในสต็อกสินค้าด้วยว่าสินค้าประเภทไหนขายได้ไวหรือขายได้น้อยมาก ซึ่งเป็นข้อมูลที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าควร restock สินค้าแต่ละเป็นเภทจำนวนเท่าไร เพื่อให้มีสินค้าพอดีกับความต้องการซื้อหรือแม้กระทั่งไม่เหลือสินค้าค้างสต็อกสินค้าไว้เป็นเวลานานเกินไป

3. กำหนดสินค้าขั้นต่ำที่ควรมีในสต็อกสินค้า

ในการกำหนดสต๊อกสินค้าเป็นอีกวิธีการรวบรวมข้อมูล สถิติการขายที่ผ่านมาของคุณ รวมทั้งหาข้อมูลและสถิติที่เกี่ยวข้องจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม เพื่อประมาณการสินค้าขั้นต่ำที่คุณควรมีสต็อกเก็บไว้ในคลังของคุณอยู่เสมอเพื่อไม่ให้มีน้อยกว่าความต้องการซื้อหรือเหลือค้างสต็อกสินค้ามากจนเกินไป วิธีนี้ก็ช่วยในการวางแผน Reorder สินค้าที่มีประสิทธิภาพในครั้งต่อไปได้นั่นเอง

4. จัดการระบบคลังให้ง่ายต่อการตรวจสอบดูแลระบบสต๊อกสินค้า

ควรเริ่มทำตั้งแต่ต้นก่อนที่ธุรกิจเติบโตจนยากที่จะจัดการทั้งระบบใหม่ คุณต้องเข้าถึงการจัดการสินค้าได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่มีออเดอร์เข้ามาจากลูกค้าไปจนกระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้า การมีระบบ Software สำหรับจัดการข้อมูลคลังสินค้าที่ช่วยให้คุณอัพเดทและเข้าถึงข้อมูลได้แบบ Real Time จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร้านของคุณควรจะมีระบบสต๊อกสินค้าในการช่วยจัดการนับสต๊อกสินค้า

5. เตรียมแผนไว้รับมือปัญหา

สิ่งที่คุณเตรียมรับนั่นคือคุณจะมีท่าทีอย่างไรเมื่อเกิดปัญหา จะทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ และปัยหาที่เกิดจากคลังสินค้าจะกระทบกับธุรกิจของคุณในส่วนอื่นอย่างไร ซึ่งหากคุณมีแผนตั้งรับก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้น ก็จะช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอื่นที่อาจเกิดตามมา บรรเทาความรุนแรงของปัญหาได้ โดยปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้นยกตัวอย่างเช่น

  • ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
  • พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ
  • การคำนวณสต็อกผิดพลาด
  • สินค้าบางชนิดค้างสต็อกนานเกินไป
  • ซัพพลายเออร์ไม่มีสินค้า
  • โรงงานผู้ผลิตเลิกผลิตสินค้าโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

นี่ก็เป็นเพียงเทคนิคง่ายๆ ในการทำสต๊อกสินค้า ถ้าหากเรามีระบบสต๊อกสินค้า ระบบสต๊อกสินค้าจะต้องทำหน้าที่จัดการสต๊อกสินค้าในคลังสินค้า เพื่อช่วยให้การทำงานง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยสินค้าที่มีจำนวนมากและจะช่วยประหยัดเวลาในการทำมากขึ้น สำหรับธุรกิจที่มีสินค้ามากควรมีระบบสต๊อกในการจัดการสินค้า และไม่เพียงแค่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลสินค้า แต่ระบบสต๊อกสินค้าจะช่วยแยกประเภทสินค้าให้กับคุณที่จะได้ต่อการเช็คสต๊อกเลยทีเดียว เพียงแค่มีตัวระบบสต๊อกสินค้าทุกอย่างก็จะง่ายมากยิ่งขึ้น

สนใจติดต่อสอบถามระบบขายหน้าร้าน ระบบสต๊อกสินค้า ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้เลยค่ะ

? Line@ ID : @KTNDEVELOP

Tel : 086-335-3642

? Email : info@ktndevelop.com

Website : http://etreeplus.com/